Loading the content... Loading depends on your connection speed!

โรคถุงน้ำ ข้อมือ. (Carpalganglion)

ในเเต่ละวันเราใช้ข้อมือทำงานมากอยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว     ไม่ว่าจะเป็นการงอข้อมือ เพื่อหยิยสิ่งของ หรือการบิดข้อมือ เพื่อซักเสื้อผ้า     ที่ข้อมือนั้น จะมีกล้ามเนื้อเเละเส้นเอ็นหลายเส้นที่ทำงานอย่างสอดประสานกัน มีน้ำหล่อเลี้ยงเอ็น เเละข้อต่อที่คอยทำให้เกิดความลื่นไหล ของการเคลื่อนของข้อมือให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

เเต่การใช้งานข้อมือบางครั้ง ก็อาจจะทำให้ เกิดการรั่วของน้ำหล่อลื่นที่ว่านี้ออกมา เเละสะสมจนเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆอยู่หลังข้อมือ   เวลาบีบก็จะเหมือนถุงน้ำที่ค่อนข้างจะเเข็ง   เเละสามารถทำให้ใหญ่ขึ้นได้ ถ้างอข้อมือ หรือเเอ่นข้อมือมากๆ 

ผลเสียของถุงน้ำที่เกิดขึ้นบนข้อมือนั้น คือ การที่ขนาดมันสามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆ  เนื่องการสะสมของน้ำที่อยู่ภายในถุง จะมีมากกว่าการไหลออก หรือดูดซึมให้เล็กลง   ถ้าถุงน้ำนี้โตมากขึ้นก็จะสังเกตได้ชัดขึ้น อาจจะดูน่าเกลียดทำให้เจ้าของไม่สบายใจ      เเละถ้าขนาดใหญ่มากขึ้นก็ยังสมารถไปเบียดเอ็นเกิดการอักเสบตามมาได้  เเต่ข้อดีของถุงน้ำนี้ก็คือ มันจัดเป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่อันตราย เเละไม่สามารถเปลี่ยนเเปลงตัวเองให้เป้นเนื้องอกร้ายเเรงได้

การป้องกันที่ดี  เพื่อให่ให้เกิดการรั่วของน้ำหล่อลื่นของข้อ เข้าไปสะสมจนเป็นถุงน้ำ คือ การใช้งานข้อมืออย่างเหมาะสม  ไม่งอ หรือหักข้อมากๆ หรือบ่อยๆ  เพราะอาจจะเกิดการอักเสบ         เกิด การเเตกรั่วเป็นรูให้น้ำนี้รั่วเข้าไปสะสมได้   ถ้าเกิดอาการปวด หรืออักเสบก็ต้องรีบรักษาครับ

ในกรณีที่ เริ่มจะมีถุงน้ำนี้เกิดขึ้น ในขนาดเล็กๆ  การงดการใช้งานข้อมือ เเละทานยาเเก้อักเสบ อาจจะลดขนาดลงได้      ในบางคนที่ถุงน้ำใหญ่ขึ้นก็อาจจะจำเป็น  ต้องเจาะดุดน้ำที่ขัง เพื่อให้ก้อนยุบลง    เเต่ก็มีข้อเสียครับ ตรงที่ว่า  จะมีโอกาสกลับมาโตใหม่ค่อนข้างสูง   เนื่องจากเราเเค่ดูดน้ำจากภายในออกมาเท่านั้น    เเต่ เยื่อหุ้มถุงน้ำนี้ยังอยู่  รูรั่วก็ยังไม่เเก้ไข   จึงทำให้ มีโอกาสที่น้ำหล่อลื่นจะเข้าไปสะสมเป็นก้อนใหญ่ขึ้นมาอีก

การรักษาในแผนไทย (อาศรมศรีมงคลคลินิกการแพทย์แผนไทย)

๑. ตรวจวินิจฉัย การเคลื่อนไหวในมุมการหมุนว่ามีจุดตึงรั้ง ขัด เจ็บหรือเปล่า

๒. ระยะเวลาในการเป็น

๓. อาชีพที่ทำ เช่น คอมพิวเตอร์ แม่บ้าน หมอนวด

๔. ยา การรับประทานยาบางชนิดนานๆ หรือฉีดยามาแล้ว

๕. พฤติกรรมซ้ำๆ (ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังการนวดรักษา)

การนวด

๑. กดจุดเปิดลมแขนด้านหน้าและด้านหลัง

๒. นวดแนวแขนด้านหน้าและด้านหลัง

๓. กดจุดฝ่ามือ ๓ จุด และจุดหลังมือ ๔ จุด

๔. นวดคลึง เน้นในแนวรอบของจุดถุงน้ำ จับคลึงตามแนวเส้นที่ตึงรั้ง

๕. ประคบร้อนหรือใช้ครีมร้อนร่วมด้วย

๖. ตรวจดูข้อกระดูกหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ

๗. กดจุด รากขวัญ ตรวจสอบการแล่น , จุดสะบักด้านล่าง

๘. กดจุดสัญญาณ ๔-๕ ต้นคอ

หลักการควรทำ ขั้น ๑-๘ หลายๆรอบ สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ประเมินผลทุกสัปดาห์