Loading the content... Loading depends on your connection speed!

รักษาด้วยหัตถศาสตร์

ซึ่งมีผลทางการรักษาโรคบางโรคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะโรคที่ไม่สามารถบำบัดได้ด้วยการใช้ยาฉีด หรือยากิน การนวดจึงมีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาโรค การนวดเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่มีมาช้านานโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้แพร่หลายในแผ่นดินสมัยอยุธยา. ไปจนถึงในสมัยรัชการที่ ๕ และกรุงรัตนโกสินทร์ หมอนวดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้นได้แก่ ” หมออินเทวดา ” ซึ่งเป็นหมอนวดในราชสำนักและยังมีหมอนวดร่วมสมัยอีกหลายท่าน หมออินเทวดาได้ถ่ายทอดวิชาการนวดทั้งหมดให้แก่บุตรชายคือ หมอชิต เดชพันธ์ ซึ่งต่อมาได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์เอก คือ อาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ซึ่งต่อมาเป็นอาจารย์อยู่ที่อายุรเวทวิทยาลัย(ชีวโกมารภัจจ์) ท่านจึงได้ถ่ายทอดวิชาการนวดแบบราชสำนักนี้ให้แก่นักศึกษาของอายุรเวทวิทยาลัยฯ ทุกคน เพื่อให้เป็นผู้สืบทอดวิชาการนวดแบบราชสำนัก นี้ให้แก่นักศึกษาของอายุรเวทวิทยาลัยฯ ทุกคน เพื่อให้เป็นผู้สืบทอดวิชาการนวดสายราชสำนักมิให้เสื่อสูญไป นับได้ว่าอาจารย์ณรงค์สักข์ บุญรัตนหิรัญ ได้เป็นผู้อนุรักษ์ศาสตร์และศิลปะแขนงนี้ผู้หนึ่ง ทำให้สามารถดำรงอยู่คู่ชาติบ้านเมืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ บุญรัตนหิรัญ จะไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ในการนวดได้จนหมดสิ้น เนื่องจากระยะเวลาในการเรียนการสอนมีจำกัด ในขณะที่การเรียนการสอนเรื่องนวดจะต้องอาศัยการฝึกปฎิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องยาวนาน เพื่อให้เกิดความชำนาญ แต่ก็สามารถช่วยให้มีการนำการนวด มาใช้ในการบำบัดรักษาโรคที่เหมาะสมและไม่ร้ายแรง ให้หายหรือระงับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยได้จำนวนหนึ่ง การนวดจึงนับเป็นวิทยาทานอันสูงส่ง ที่ควรอนุรักษ์และเทอดทูนไว้เป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมืองสืบไป การนวดเพื่อรักษาโรคของไทย มี 2 แบบคือการนวดแบบราชสมนัก และการนวดแบบทั่วไป ซึ่งมีการเรียนการสอนหรือถ่ายทอดสืบต่อกันมา ทั้งในสถาบันการศึกษาและภายในครอบครัว สถาบันการศึกษาการนวดแบบเดิมของไทยแห่งแรก คือ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ปัจจุบันได้มีเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น ที่วัดสามพระยา วัดปรินายกเป็นต้น

เป็นข้อความจากหมอเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ (อ.ผมครับ)