Loading the content... Loading depends on your connection speed!

พึงสังวรในการรักษา

การนวดในการรักษากับคนไข้ จะเป็นนักศึกษาหรือหมอที่เรียนจบหลักสูตรไปแล้วแต่ยังไม่มีความชำนาญการในการตรวจวินิจฉัยโรค ถ้ายังไม่เข้าใจในศิลปะศาตร์ของวิชานั้นฯก็จงอย่ามั่นใจในกระบวนการรักษาที่เราได้เรียนกันมา โดยความคิดของตัวเองที่ว่าวิชานั้นเป็นที่สุดของการรักษาโรคนั้นฯแล้ว เราเองอาจจะมั่นใจมากไปในอาจารย์หรือครูผู้สอนว่า ท่านเหล่านั้นเก่ง มีชื่อเสียง มียศตำแหน่งนำหน้าชื่อที่หน้าเชื่อถือ หลายครั้งมากครับที่มีคนป่วยมาเล่าให้ฟังถึงวีธีการรักษา พอเห็นอาการโรคที่แสดง หมอก็ใช้วิชา หรืออาวุธที่ใช้ในการเรียนมาเอาออกมาประเคนใส่คนไข้อย่างไม่ปราณี ปราศัย ด้วยความมั่นใจในวิชาที่ครูสั่งสอนมา ส่วนคนไข้ก็คิดว่าหมอนั้นเก่ง คนนี้แหละแน่แล้วใช้แล้วตามที่มีคนรู้จักแนะนำมาหรือดูจากการโฆษณามา ดังนั้นจึงทนกับการรักษา อู้ย เจ็บ เจ็บ เจ็บมาก  ทน ทน ทน ทน ทน เจ็บจนทนไม่ไหวแล้ว

บางคนทนเจ็บจนเกือบเป็นลมเนื้อตัวสั่นเทาไปหมดเหงื่อแตกหน้าซีดปากเขียวแล้ว

บางคนทนเจ็บไม่ไหวเป็นลมไปเลยก็มี หมอก็วิ่งกันวุ่นเลยละครับ

บางคนบาดเจ็บภายในจนกลายเป้นโรคอื่นกำเริบตามมาก็มีครับ

บางคนเป็นโรคอุบัติใหม่ไปเลย และเกลียดการรักษาแบบแผนไทยแบบองรวมไปเลยก็มี

หลายคนบอกว่า หมอเก่งแต่ทำไมอาการของเราถึงเป็นหนักขึ้นกว่าเดิม

หลายคนเสียมิตรภาพกับคนที่แนะนำให้ไปหาหมอเพื่อรับการรักษาไปเลยก็มีครับ บางคนเป็นเพื่อนก็เสียเพื่อน บางคนเป็นญาติแนะนำไปก็เสียญาติ บางคนไปดีดี หลังรับการรักษากลับมาเป็นอัมพฤกฒ์ อัมพาตเลยก็มี แขนลีบ ขาลีบ เส้นเลือดแตก ข้อเคลื่นเอ็นอักเสบก็มีเยอะครับ และอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องระวังให้มากฯก็คือ กลุ่มนักศึกษามือใหม่ร้อนวิชาอยากเป็นหมอ ชอบหัดกดนวด ขูด เขี่ย แกะ ดัด ดึง ฝัง เจาะ ดูด อบ เผา แก้อาการกันเองทั้งที่ไม่มีอาการป่วยไข้ของโรค ต่างคนต่างอยากรู้ตามตำราที่ครูสอนมา เสร็จแล้วบาดเจ็บกันเป็นแถว บางคนพิกลพิการก็มี เสียอวัยวะเสียอนาคตกันไปเลยก็มี

รับคนป่วยเป็นครู

เป็นผลดีที่สุดในกระบวนการเรียนการสอนแบบเชิงประจักรครับทั้งศาสตร์และศิลปะการรักษาเห็นผลชัดเจนที่สุดครับ ในการสอนเรื่องการรักษาในกลุ่มโรคใดฯควรให้ครูผู้สอนค้นหาคนป่วยจริงมาเป็นเคสในการตรวจวินิฉัยแล้ววางแผนในการรับรักษา และวิธีการแก้อาการของโรคนั้นฯจะเป็นผลดีที่สุดครับ “คนไข้เป็นครู”

จิตของหมอ

ตำราเขียนไว้ว่า หมอควรมีจิตเมตตาต่อคนไข้ หมอควรตรวจวินิจฉัยอาการโรคของคนไข้ด้วยความรอบครอบ ไม่โลภเห็นลาภ รักษาแต่คนมีเงิน และกระบวนการในการรักษาควรเริ่มจากนุ่มนวล ปรับตามอาการ หรือแบบประคับประครองเอาแค่คนไข้พอรับรสมือ น้ำหนักในการรรักษาโรคกับเราได้ ไม่บอบช้ำและอักเสบตามมา ไม่ใช่เอาแต่วิธีการของหมอคนไข้เจ็บจะตายช่างมัน ( เชื่อหมอสิหมอเรียนมาทนอีกหน่อยนะ ไม่ทนเดี๋ยวคราวหน้าไม่รักษาให้นะ) เป็นผมนะคราวหน้าก็ไม่ไปอยู่ดีแหละคร้าบบบ

หมอขี้ลืม

พอคนไข้เข้าร้านมาพูดหมอที่นั้นไม่ดี ที่โน้นไม่ดี จึงมาหาหมอนี้แหละ เท่านั้นและครับใจฟุ้งเลย “สติ ครับ สติ ”  ฉันต้องรักษาให้ดีกว่าหมอคนนั้นให้ได้ด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ดีกลายเป็นตั้งใจเกินกับการรักษาโรคนั้นฯ เรียกว่ารักษาแบบเอาใจนั้นแหละครับ ต้องเอาชนะโรคให้ได้สุดท้ายคนไข้แพ้แรงหมอ จึงเป็นพิษจากแรงโรคบวกพิษจากแรงหมอเข้าไปอีกหนันะครับ แถมคนไข้แพ้ฤิทธยาหมอ เพราะขาดสติสัมปชัญญะในการตริตรอง ยับยั้งช่างใจในอารมณ์ฟุ้งของตนเอง ผลเสียจึงมาตกกับคนไข้ครับ การรักษาคนไข้ผมเองถึงให้ลูกศิษย์ท่องให้ขึ้นสมองและติดปากอยู่เสมอ ว่านวดจตุรธาตุจิตพรหม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือ เม กะ มุ อุ ต้องมีจิตที่เป็นพรหม อย่าพลั้งเผลอต่อคนไข้และโรคของคนไข้ ทุกอย่างเป็นธรรมมีความเป็นธรรมชาติที่มีดุลยภาพอยู่ในตัวทุกสรรพสิ่ง อย่าตามล้างจนเกลี้ยงจนเสียดุลย์ภาพแห่งธาตุนะครับ “สติ สติ สติ “#จตุรธาตุจิตพรหม

พท.ศิริมงคล ตอบงาม

อาศรมศรีมงคลคลินิกการแพทย์แผนไทย